สรุปหนังสือ Startup Studio Playbook

Punyapat Sessomboon
7 min readApr 2, 2021

--

หน้าปกหนังสือ

สวัสดีครับ สำหรับใครที่สนใจการสร้างบริษัท Startup โดยเฉพาะเกี่ยวกับวิธีการสร้าง Venture Builder (VB) หรือ Startup Studio วันนี้มีหนังสือดีๆ มาแนะนำครับ ณ วันที่อ่านหนังสือเล่มนี้ ยังไม่ค่อยมีหนังสื่อที่เกี่ยวกับเรื่อง Startup Studio และ VB ให้อ่านเท่าไหร่ ส่วนมากจะเป็นบทความ หรือวิดีโองานสัมนามากกว่า

หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า Startup Studio Playbook ครับ สามารถกดซื้อที่ Amazone ได้เลย

  • เพื่อความสะดวก ขอเรียก VB และ Startup Studio รวมกันสั้นๆ ว่า Studio
  • Entrepreneur ขอใช้คำภาษาอังกฤษเลย เพราะว่าแปลเป็น “ผู้ประกอบการ” แล้วรู้สึกไม่ค่อยตรงกับที่ต้องการจะสื่อ ขอใช้คำแปลด้านล่างแทนครับ

ผู้ที่มีความชอบในการแก้ไขปัญหาต่างๆ และมีความกล้าในการคิดค้นและสร้างสรรค์ ‘innovation’ (นวัตกรรม) ซึ่งนวัตกรรมนั้นมีความสามารถในการสร้างรายได้และต่อยอดเป็นธุรกิจได้

หนังสือจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ

  1. Overview ปูพื้นทั่วๆ ไปเกี่ยวกับ Studio
  2. Stories เล่าเรื่องราวของ Studio ต่างๆ ว่าเริ่มต้นยังไง เจอปัญหาอะไรบ้าง
  3. Framework เป็นการสรุปโดยผู้เขียนหนังสือว่าควรออกแบบ Studio อย่างไร

Overview

Startup Studio คืออะไร

Startup Studio คือองค์กรที่มีหน้าที่สร้างบริษัท Startup ใหม่ๆ ที่สามารถดำเนินธุรกิจต่อและเติบโตได้ด้วยตัวเอง

พูดง่ายๆ ก็คือโรงงานผลิตบริษัท Startup ครับ ซึ่งจะเน้นที่การสร้าง Startup ตั้งแต่เริ่มต้น หรือที่เรียกว่า Early stage คือตั้งแต่หา Idea ว่าจะทำอะไร Validate idea และ Business concept ว่าน่าทำเป็น Startup ไหม ลองสร้าง MVP เพื่อเช็ค Value Proposition และหา Traction จนไปถึงการ Spin-off ทีมให้เป็นบริษัทใหม่ เพื่อให้ไปดำเนินงานกันเองอย่างอิสระ และเติบโตได้เร็วขึ้น

โดย Studio จะแตกต่างกับ Venture Capital (VC) ตรงที่

  1. Studio จะเป็นเหมือนผู้ร่วมสร้าง Product ไปด้วยกัน เหมือนเป็น Co-founder อีกคน แต่ VC ส่วนใหญ่จะให้การช่วยเหลือเฉพาะด้านเงินทุนและให้คำแนะนำเป็นครั้งๆ ไป
  2. Studio จะปั้น Startup ที่ Early stage ตั้งแต่หา idea, validate idea, คิด business model, ทำ MVP ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่ VC จะเน้นลงทุนใน Startup ที่พอจะมี traction บ้างแล้ว เช่น serie A เป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยง
https://theflip.africa/accelerator-venture-builder/

คุณสมบัติที่สำคัญของ Studio คือ

  • เป็นพื้นที่ที่ส่งเสริมให้เกิดการสร้าง idea ใหม่ๆ ผลิต Product ที่มีคุณค่าต่อผู้ใช้ โดย Studio จะให้ความช่วยเหลือเรื่องต่างๆ เช่น หาคน, ให้เงินทุน, ช่วยทำบัญชี, รีวิวข้อกฏหมาย และ อื่นๆ ที่จำเป็นทั้งหมด โดยพยายามให้ Startup โฟกัสที่การสร้าง Product อย่างเดียวก่อน
  • เป็นตัวเร่งปฏิกริยา ที่ทำให้เกิด Product ที่ดี ออกสู่ตลาดได้ไวขึ้น โดยอาศัย ทรัพยากรกลางที่มี กระบวนการทำงาน และ ประสบการณ์ ของ Studio ที่เคยสร้าง Startup หลายๆ ตัวมาก่อน
  • Studio ที่ดี จะต้องเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ หลังจากการ validate idea แต่ละรอบ หรือ การสร้าง Startup ใหม่ๆ แต่ละครั้ง โดยเอาข้อมูล บทเรียน วิธีการทำงาน ความเข้าใจตลาด มาปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

Startup Studio in a Nutshell

วิธีการสร้าง Studio มีหลายแบบแล้วแต่ว่า Founder ของ Studio จะออกแบบยังไง แต่ว่าโดยทั่วไปแล้วจะมีขั้นตอนประมาณนี้

  1. รวบรวม Core team และ Entrepreneur เป็นทรัพยากรตรงกลาง
  2. เตรียมเครื่องมือต่างๆ และเงินทุน
  3. หา Idea ใหม่ๆ ตลอดเวลา ทั้งจากภายในและภายนอก Studio
  4. เริ่มกระบวนการ Validate idea เหล่านั้น และลองสร้างทีม Startup จาก Idea ที่ได้รับคัดเลือกมา โดยทำพร้อมกันหลายๆ Idea
  5. เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ก็กลับมาดูผลงานของ Startup และตัดสินใจว่า Startup ตัวไหนควรทำต่อ และตัวไหนต้องล้มเลิก สำหรับตัวที่ล้มเลิกก็มอบหมาย Idea ใหม่ให้กับทีมเพื่อเริ่มกระบวนการ Validate อีกครั้ง
  6. สำหรับ Startup ที่ได้ไปต่อ ก็ต้องหาหาคนเพิ่ม เนื่องจากที่ผ่านมาใช้ทรัพยากรบุคคลของ Studio เมื่อโตจนถึงจุดที่ควรจะแยกไปบริหารงานกันเองแล้ว ก็ Spin-off เป็นบริษัทใหม่
  7. เติบโตและ Exit

เดี๋ยวด้านล่างจะมีอธิบายละเอียดๆ อีกทีครับ

ข้อดีของ Studio

  1. รับมือกับความล้มเหลว การทำ Startup ทั่วไป ถ้า Startup ล้มเหลว ส่วนมากทีมงานก็จะแยกย้ายกันไป เงินทุนที่นักลงทุนลงไปก็เสียเปล่า แต่ใน Studio เมื่อ Startup ล้มเหลว Studio จะยังสามารถเก็บคนเก่งๆ และประสบการณ์ไว้ได้ เพื่อไปทำ Startup ตัวอื่นต่อไป นักลงทุนก็จะเหมือนได้ลงทุนใน Startup หลายๆ ตัวไปพร้อมๆ กัน เป็นการกระจายความเสี่ยง
  2. ROI สูงกว่า โดยปกติแล้ว Studio จะได้ถือหุ้นใน Startup ที่คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าที่ VC ทั่วไปจะได้ เพราะ Studio ช่วยสร้าง Startup ตั้งแต่ stage แรกๆ เป็นเหมือน Co-founder ให้ Resource โดยรับความเสี่ยงมากกว่า เมื่อ Startup exit ผลตอบแทนก็จะมากกว่า เป็นประโยชน์กับ Studio และผู้ถือหุ้นของ Studio
  3. ใช้คนได้มีประสิทธิภาพมากกว่า ปกติแล้ว Startup ใน Early stage จะไม่สามารถจ้างคนที่มีฝีมือดีมาทำงานด้วยกันได้มาก เพราะค่าจ้างของแต่ละคนก็จะสูงและจะใช้คนได้ไม่เต็มที่ แต่ Studio ซึ่งมีงบมากกว่าจะสามารถทำได้ และใช้คนเหล่านั้นได้มีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะสามารถมอบหมายให้ไปช่วยงาน Startup หลายๆ ตัว ได้พร้อมๆ กัน เช่น ถ้า Studio จ้าง Senior Designer มา บาง Startup อาจจะยังไม่ต้องการตัว เพราะกำลังทำ Market research แต่บาง Startup ที่กำลังทำ MVP อาจจะต้องการตัวแล้ว Studio สามารถมอบหมายงานให้ Senior Designer ไปช่วยงาน Startup ที่ต้องการตัว ณ เวลานั้น แล้วมอบหมายให้ไปช่วย Startup อื่นๆ ต่อไป
  4. ช่วยสร้าง Entrepreneur การสร้าง Startup ร่วมกับ Studio จะช่วยลดความเสี่ยงและลดเงื่อนไขต่างๆ ที่ Entrepreneur ต้องเผชิญเมื่ออยากจะเริ่มทำ Startup ด้วยตัวเอง ทำให้ Entrepreneur หน้าใหม่สามารถเริ่มต้นทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น เช่น ความเสี่ยงในเรื่องรายได้ ความเสี่ยงของการขาดประสบการณ์ การรวบรวมเงินทุนใน Early stage หรือ ยังไม่มี Idea สำหรับเริ่มต้นทำ Startup เป็นต้น

ข้อเสีย

  1. ใช้เงินลงทุนสร้าง Studio สูงกว่า เนื่องจากต้องสร้าง Core team และเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ รวมถึงทรัพกรบุคคลตำแหน่งอื่นๆ
  2. สัดส่วนผู้ถือหุ้น โดยปกติแล้ว Studio จะได้ถือหุ้นใน Startup ในสัดส่วนที่สูงกว่า 50% ซึ่งอาจจะทำให้เกิดคำถามตามมาว่า แล้วตัว Startup เองจะมี Motivation พอที่จะดำเนินงานได้ดีหรือไม่ ตรงนี้ในหนังสือเสนอ Solution ว่า ก็แค่ต้องคุยเงื่อนไขให้ชัดเจนแต่แรก หาคนที่อยากได้ข้อดีของ Studio และรับเงื่อนไขนี้ได้
  3. ความทุ่มเทของพนักงาน เนื่องจาก Studio เป็นฝ่ายที่หา Idea และ Validate Idea รวมถึงการสร้าง Traction ในเบื้องต้น แล้วถึงจะไปหาคนมาเพื่อสร้างเป็นทีม Startup อาจจะทำให้เกิดข้อสงสัยว่า คนที่ไม่ได้ทำงานตาม Idea ของตัวเองตั้งแต่แรก จะทุ่มเทให้กับ Startup ได้มากพอหรือไม่ แต่ในหนังสือก็เสนอว่ามีคนที่ชอบข้อดีของ Studio และสามารถทำงานได้เต็มที่เหมือนกัน
  4. การแย่งทรัพยากรภายใน เนื่องจาก Studio จำเป็นต้องสร้าง Startup หลายๆ ตัวไปพร้อมๆ กัน อาจจะทำให้มีเหตุการณ์ที่ต้องการทรัพยากรเหมือนกัน เช่น คนตำแหน่งต่างๆ หรือ Infrastructure จำเป็นต้องมีการสื่อสารและวางแนวทางที่ดี

Story

ส่วนที่ 2 ของหนังสือจะเป็นการเล่าเรื่องของ Studio ต่างๆ ว่าเริ่มต้นยังไง เจอปัญหาอะไรบ้าง มีวิธีการทำงานยังไง โฟกัสที่ Industry ไหน เนื้อหาส่วนนี้จะประมาณ 40–50% ของหนังสือเลย ถ้าสนใจแนะนำให้ลองอ่านในหนังสือได้เลยครับ จะออกแนวเป็นเรื่องเล่ามากกว่า

Framework

ขอข้ามมาที่ส่วนที่ 3 เลย เป็นส่วนที่สรุปกระบวนการต่างๆ ในการสร้างและบริหาร Studio

Studio Leadership

เนื้อหาส่วนนี้จะพูดถึงตัวผู้ก่อตั้ง Studio

จากเรื่องราวในบทที่ 2 จะพอเห็นว่า Studio ที่ประสบความสำเร็จมักจะถูกก่อตั้งโดย Entrepreneur ที่ประสบความสำเร็จกับ Startup มาแล้ว แต่ยังไม่อยากวางมือและผันตัวไปเป็น VC ยังต้องการที่จะสร้าง Startup ใหม่ๆ อีก

เป็นเหตุผลที่ทำให้ธีมหรือ Industry ที่ Studio โฟกัส มักจะเป็นธีมและ Industry ที่ Founder เคยทำมาก่อน ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะว่า Founder มีประสบการ มีเทคโนโลยี เข้าใจตลาด มี Connection และ Network ที่ใหญ่ ซึ่งทั้งหมดจะเป็นประโยชน์กับ Startup ที่ Studio กำลังจะสร้าง

นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ Corporate สร้าง Studio ขึ้นมาเองด้วย โดยใช้พนักงานเดิมของบริษัทมาตั้งบริษัทลูกใหม่เพื่อสร้าง Startup ข้อดีคือทำให้ไม่ต้องยึดติดกับกฏเกณฑ์เดิมๆ ของบริษัทแม่ ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับการสร้าง Startup และ Innovation เดี๋ยวจะกลับมาพูดถึงในตอนท้ายเพิ่มเติมครับ

การจะสร้าง Studio ก็จะมีความท้ายทายต่างๆ สรุปได้ประมาณนี้

  • คุณจะต้องสร้าง Core team ที่สามารถสร้าง Products หลายๆ ตัวได้ ในเวลาเดียวกัน
  • คุณจะต้องหาคนที่มีฝืมือจำนวนมากเข้ามาทำงาน และต้องคอย Motivate ให้พวกเขาทำงานโดยที่จะต้องส่งต่อมันให้กับคนอื่นในที่สุด (ตอน Spin-off)
  • คุณต้องตามหา Entrepreneur และสอนงานพวกเขา เพราะสักวันหนึ่ง เขาจะกลายเป็น CEO ของบริษัท Startup ที่ Studio สร้างขึ้นมา
  • คุณจะต้องคอยจัดการกับ Conflict ของทรัพยากรจากทีมต่างๆ การยอมให้ทีมใดทีมหนึ่งใช้ทรัพยากร แปลว่าทีมอื่นๆ จะดำเนินงานช้าลง
  • คุณจะตัดสินใจอย่างไร คุณจะต้องคอยสื่อสารกับผู้ถือหุ้นของ Studio และสร้างความั่นใจให้กับพวกเขา และระดมทุนเพิ่มเมื่อจำเป็น
  • และในหนังสือก็พูดถึงความท้าทายของผู้ก่อตั้ง Studio ในรายละเอียดปลีกย่อยอีกเยอะครับ

Vision and strategy

เช่นเดียวกับการสร้างบริษัทอื่นๆ Studio ก็จำเป็นต้องมี Vision และกลยุทธิ์ Founder ของ Studio ต้องตัดสินใจอะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับ Studio ก่อนจะเริ่มสร้าง ดังนี้

  1. Key Performance Indicator

เช่นเดียวกับการสร้าง Startup ทั่วไป Studio ก็จำเป็นต้องมี Metric เพื่อใช้วัดความเติบโตและความสำเร็จของ Studio โดยในระยะสั้น อาจจะเริ่มจากใช้ Metric เช่น จำนวน Startup ที่สร้างได้ในแต่ละปี จำนวน User ของ Startup ต่างๆ ของ Studio รวมกัน แต่สุดท้ายแล้ว Metric ที่ดูจะเหมาะที่สุดในระยะยาวคือ รายได้ของแต่ละ Startup และรายได้ของ Studio เอง

เหตุผลที่เลือก Metric นี้เพราะว่า การมีรายได้ที่ดี หมายความว่า

  1. เราสร้าง Product ที่มีคนต้องการ
  2. เราสามารถขายให้กับลูกค้าที่ถูกคน
  3. Studio มีความ Stable ในระดับนึง สามารถสร้าง Startup อื่นๆ ได้อีก
  4. เราตัดสินใจเลือก Startup ที่จะได้ไปต่อได้อย่างถูกต้อง
  5. มีจุดต่อรองเวลาที่ต้องขอทุนเพิ่ม

2. วิธีการทำงานรวมกันระหว่าง Studio และ Startup

เรื่องที่ต้องตัดสินใจ เช่น

  • จะคิดค่าบริการของ Studio จาก Startup ยังไง
  • เมื่อ Startup โตแล้ว จะเข้าไปมีส่วนร่วมมากแค่ไหน ถึงเมื่อไหร่
  • จะช่วยเหลือเรื่องอะไรบ้าง และเรื่องอะไรที่ควรปล่อยให้ Startup เอาไปทำเอง

เป็นต้น หัวข้อพวกนี้ไม่มีคำตอบตายตัว แล้วแต่ Studio จะออกแบบ ถ้าลองซื้อหนังสือมาอ่านในหัวข้อใหญ่เรื่อง Story ก็อาจจะพอได้ไอเดียกว่า Studio อื่นๆ เขามี model ประมาณไหนกันครับ

3. Benchmark

คือการลองสำรวจ Studio อื่นๆ ในตลาด ว่ามีวิธีการ ผลประกอบการเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อให้รู้ว่าเราอยู่ตรงไหนในตลาด อาจจะใช้วิธีการดูจาก Website หรือ Linkedin หรือแม้กระทั่งเข้าไปดู Profile ของพนักงานของแต่ละ Studio แล้วดูทิศทางและความเป็นไปได้ต่างๆ

ขั้นตอนการสร้าง Studio

เนื้อหาส่วนนี้จะพูดถึงขั้นตอนและวิธีการเพื่อสร้าง Studio ขั้นตอนและวิธีการเหล่านี้ถูกออกแบบสำหรับกรณีที่ Studio เป็นผู้สร้าง Startup ตั้งแต่ต้น คือ ตั้งแต่เริ่มการหา Idea ถ้าเป็นกรณีที่นำเอาไอเดียมาจากข้างนอก หรือ มาจากตัว Founder ของ Startup อาจจะมีวิธีการที่แตกต่างกันไปเล็กน้อย

https://medium.com/startup-foundation-stories/the-emergence-of-startup-as-a-service-129c552d89e3
  1. หาไอเดียสำหรับทำ Startup จำนวนมาก

จุดประสงค์ของการทำ Studio คือต้องสร้าง Startup ที่ไปต่อได้จำนวนมากๆ เพราะฉะนั้น Studio จำเป็นต้องมี Pipeline ของไอเดียจำนวนมาก Studio ที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะโฟกัสที่ Industry เดียวกันก่อน เพราะจะทำให้ Studio มีความเข้าใจ Industry นั้นจริงๆ หรือ โพสกัสที่ Customer segment เดียวก่อน เพื่อให้เข้าใจลูกค้ากลุ่มนั้นจริงๆ และหาไอเดียเพื่อช่วยแก้ปัญหาของลูกค้ากลุ่มนั้น

การหาไอเดียจำนวนมากๆ สามารถเริ่มได้ด้วย

  • การจัด Session ประจำ เพื่อมาคุยกันเรื่องไอเดียใหม่
  • การหาข้อมูลและข่าวเกี่ยวกับ Industry ที่สนใจ
  • หาวิธีให้คะแนนแต่ละไอเดีย เพื่อเลือกว่าจะนำไอเดียไหนไปเริ่มขั้นตอนต่อไป

ถึงจุดนี้ต้องระวังเรื่องการทุ่ม resouce ลงไปในบางไอเดียมากเกินไป เพราะ Studio จะต้องดูแลไอเดียหลายๆ ตัวพร้อมกัน การให้ resource ไปกับไอเดียหนึ่งๆ เท่ากับการตัดโอกาสของไอเดียอื่นๆ Studio จะต้องฝึกการ Let go ไอเดียในเวลาที่เหมาะสม และไปไอเดียต่อไป

Studio จะต้องเรียนรู้การปล่อยวาง Idea ที่ไม่น่าจะไปต่อได้ เพราะว่าส่วนใหญ่แล้ว เมื่อทีมได้ลงมือทำ Idea อะไร ก็จะมีอารมณ์ผูกพันธ์กับ Idea นั้นๆ และเชื่อมั่นว่ามันจะไปต่อได้จริงๆ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ควรจะทำคือ

  • ตั้งเงื่อนไขที่ชัดเจน เช่น กำหนดกรอบเวลา กำหนกเป้าหมายที่ต้องทำให้ได้ ถ้าไม่เป็นไปตามเป้าหมายก็ควรจะล้มเลิก
  • ฝึกการ validate idea ด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ทรัพยากรณ์จำนวนมากเกินไป

ขั้นตอนการสร้าง Idea ส่วนใหญ่แล้วใช้เวลาไม่มากอย่างที่คิด โดยลองจัด session สัก 1 ชั่วโมง

  1. มองหาปัญหาที่พบในปัจจุบัน
  2. เลือกปัญหาที่คิดว่าใหญ่ที่สุดโดยใช้ความรู้สึกของทีมก่อน
  3. ลองคิดหาวิธีแก้จำนวนมากๆ
  4. เลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดูน่าสนใจที่สุด

ถ้าทำแบบนี้ทุกๆ วัน หรือทุกๆ สัปดาห์ เราจะได้ Idea จำนวนมากไว้ใน Pipeline

2. Validate Idea เบื้องต้น และการเลือก Idea เพื่อไปต่อ

เมื่อเรามี Idea จำนวนมากแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเลือกว่าเราจะนำ Idea ไหนมาทดสอบจริงจัง โดยใช้เกณฑ์คร่าวๆ ได้ดังนี้

  • ปัญหานั้นร้ายแรงแค่ไหน
  • Market มีขนาดใหญ่แค่ไหน
  • ระดับความมั่นใจที่คิดว่าเราจะสามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ และเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

เมื่อได้ Idea มาแล้ว ก็เริ่ม validate โดยอาจจะตั้ง Entrepreneur ผู้รับผิดชอบ Idea นั้นๆ ขึ้นมา โดยในขั้นตอนนี้ ต้องเน้นที่ความประหยัดและระยะเวลาสั้นๆ ตั้งแต่ไม่กี่วันไปจนถึงไม่กี่สัปดาห์

วิธีการตรวจสอบ Idea ก็มีหลากหลาย แต่วิธีการที่นิยมโดยทั่วๆ ไปก็ เช่น

  • การสร้าง landing page เพื่อดูความสนใจของตลาด
  • Direct call หรือ Online ads
  • หา acquisition cost หรือ sales cycle, etc คร่าวๆ
  • ดูความเป็นไปได้ของ channel และ Growth engine

สิ่งที่ควรจะได้ออกมาจากขั้นตอนนี้คือ Pitch deck เริ่มต้น และ Concept ที่จะนำไปทำ Minimum Viable/Lovable/Awesome Product

3. เลือก Idea ที่จะได้ไปต่อ

ขั้นตอนนี้จริงๆ ก็ไม่อะไรมากครับ แค่เลือกว่า Idea ไหนควรทำต่อหรือไม่ควรทำต่อ เหมือนจะง่ายแต่จริงๆ อาจจะยากกว่าที่คิด เพราะ

  • บางครั้ง Startup Idea บางตัว ไม่ได้ตัดสินง่ายๆ ว่าควรไปต่อหรือล้มเลิก
  • ทีมมีความผูกพันธ์กับ Idea มากเกินไป และเชื่อว่ามันจะไปต่อได้ ทั้งที่ความเป็นจริงอาจจะไม่เป็นอย่างนั้น

ในหนังสือแนะนำวิธีการเลือก Idea โดยใช้หลักการ 3 ข้อ

  1. ทำอย่างโปร่งใสและรวดเร็ว เพราะไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการเลื่อนการตัดสินใจออกไปเรื่อยๆ เพราะยังไม่กล้าล้มเลิก Project แต่ทำให้ทีมต้องอยู่ในสถานะที่ไม่ชัดเจน และไม่สามารถนำทรัพยากรณ์ไปพัฒนา Idea อื่นๆ ได้
  2. ต้องเตรียมทีมให้พร้อม โดยเฉพาะสมาชิกใหม่ๆ ที่เพิ่งจะได้ทำ Idea เป็นครั้งแรกๆ อาจจะตัดใจได้ยากกว่า
  3. เรียนรู้จากประสบการณ์ เพราะนี่คือข้อดีของ Studio เมื่อเทียบกับ Startup ทั่วๆ ไป เมื่อ Startup ไหนล้มเหลว Studio สามารถนำเอาประสบการณ์มาใช้เป็นบทเรียนสำหรับครั้งต่อๆ ไปได้

เมื่อล้มเลิก Idea แต่ละครั้ง ควรจะมี session เพื่อมาทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งที่ทำให้ Idea ไม่ได้ไปต่อ ข้อควรระวังสำหรับครั้งต่อๆ ไป

4. เริ่มสร้างเบื่องต้น

ขั้นตอนนี้ก็ตามชื่อเลยครับ เริ่มสร้าง prototype เล็กๆ อาจจะเป็นเว็บแอพง่ายๆ เพื่อทดลองปล่อยออกสู่ตลาดเพื่อดูความสนใจของลูกค้า สำหรับกรณี B2B อาจจะยุ่งยากกว่า ขั้นตอนต่างๆ อาจจะต้องคิดมาดีพอสมควร เพราะทุกขั้นตอนใช้เวลานานกว่า และความคาดหวังของผู้ใช้ที่สูงกว่าด้วย

ในขั้นตอนนี้ อย่างน้อยควรจะมี CEO ที่มาจาก Entrepreneur แยกออกมาอย่างชัดเจน อาจจะมี CTO ด้วยก็ดี และใช้ core team ในการช่วยสร้าง Product สำหรับบาง Product อาจจะต้องการตำแหน่งอื่นๆ เพิ่มด้วย เช่น Customer Support, Sale เป็นต้น โดยโจทย์หลักของขั้นตอนนี้คือ

  • Problem-solution fit
  • Product-market fit
  • เริ่มสร้าง Traction

งานที่ต้องทำในขั้นตอนนี้ เช่น การสร้าง MVP, หา early adopter, เอา feedback กลับมา revise ตัว Product, ทดลองสร้าง roadmap ของ Product และอาจจะเริ่มทดลองระดมทุนเลยก็ได้

สำหรับสิ่งที่ควรจะได้จากขั้นตอนนี้คือ

  • Product ที่ทดลองแล้วว่าสร้าง Traction ได้จริง หรือถ้าให้ดีเลยก็คือมีลูกค้าจ่ายเงินแล้ว และอาจจะมี Recurring Revenue แล้ว
  • Pitch ที่สมบูรณ์มากขึ้น มีข้อมูลที่ได้จาก MVP มาแล้ว พร้อมสำหรับนำไป Pitch เพื่อขอเงินทุน (ทั้งจาก Studio และจากข้างนอก)

4. เลือก Startup ที่ควรจะทำต่อ

ขั้นตอนนี้จะคล้ายๆ ขั้นตอนที่ 2 ที่เป็นการเลือก Idea แต่ว่ารอบนี้จะเป็นการเลือก Startup ที่ผ่านการสร้าง Product/Service เบื้องต้นมาแล้ว เงื่อนไขที่ดีข้อหนึ่ง คือการมี MVP และได้ผลการ validate ที่ดีมาแล้ว เช่น มีลูกค้าสนใจจำนวนมาก หรือสามารถเก็บเงินจากลูกค้าได้แล้ว เป็นต้น

5. โตและระดมทุนในรอบ seed

ขั้นตอนนี้จะเหมือนกับ Start ทั่วไป คือเมื่อมี Concept ที่ดีแล้วก็ต้องเริ่ม development และหาลูกค้าเพิ่มเพื่อให้ธุรกิจเติบโต และการจะทำสิ่งเหล่านี้ให้ประสบความสำเร็จก็จำเป็นจะต้องมีเงินทุน ซึ่งทำให้ Startup จำเป็นต้องขอระดมทุน ซึ่ง ณ state ของ Startup ในตอนนี้ จะถือว่าอยู่ใน Seed state เงินทุนที่ขอก็จะไม่มากเมื่อเทียบกับ Series A หรือ B

การทำงานกับ Studio จะทำให้มีข้อได้เปรียบตรงนี้ Studio จะมีเครดิตมากกว่า เนื่องจากมี Startup หลายๆ ตัวที่ออกมาจาก Studio และมีลูกค้าจริงและเติบโตแล้ว

6. Spin-off เติบโต และ Exit

เมื่อ Startup สามารถระดมทุนในรอบ seed ได้แล้ว ก็ถึงเวลาต้องรีบทำ Product ให้ดีขึ้นและหาลูกค้าให้มากกว่าเดิมอีก และขั้นตอนต่อไปก็คือการ Spin-off เป็นบริษัทใหม่ที่เป็นอิสระจาก Studio และสามารถ Scale ต่อไปได้มากกว่าเดิม

ขั้นตอนนี้อาจจะต้องมีการทำสัญญาเรื่องผลประโยชน์กับ Studio ให้ชัดเจนอีกครั้ง เช่น จะใช้บริการไหนของ Studio ต่อไปก่อนหรือไม่ ถ้าใช้ จะคิดค่าใช้จ่ายอย่างไร หรือ Studio จะถือหุ้นกี่ % และมีบทบาทอย่างไรบ้าง เป็นต้น

และขั้นตอนสุดท้ายของ Startup ก็คือการ Exit โดยทั่วไปจะมีการ Exit อยู่ 2 แบบคือ

  1. ให้บริษัทอื่นมาซื้อไป การ exit แบบนี้จะใช้เวลาในการสร้างไม่นาน โดยเน้นสร้างบริษัทให้มีคนอยากได้ และยอมซื้อ
  2. เติบโตต่อไปเรื่อยๆ และกลายเป็นบริษัทมหาชน ด้วยการเข้าตลาดหลักทรัพย์

เรื่องนี้ก็เป็นสิ่งที่ควรจะคุยกันก่อนที่จะเริ่ม Spin-off เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนเห็นภาพอนาคตของบริษัทในทิศทางเดียวกัน

https://hackernoon.com/why-founders-need-to-prepare-for-exits-b598d028e8b6

และนี่ก็เป็นกระบวนการคร่าวๆ ในการสร้าง Venture Builder ครับ ต่อไปเราจะไปพูดถึงอีกหัวข้อที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือการสร้าง Venture Builder โดยองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นที่นิยมในประเทศไทยเราตอนนี้ด้วย

Corporate Venture Builder

สถานการณ์ IT Business ในปัจจุบันสร้างความท้าทายให้กับองค์กรอย่างมาก เพราะนอกจากจะต้องรักษาคุณภาพของ Product/Service เดิมให้ดีแล้ว ยังต้องต่อสู้กับ Startup ที่เกิดใหม่ตลอดเวลาและกำลังกิน Market share มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการสร้าง Innovation ใหม่ๆ เข้ามาแข่ง และความเร็วในการปรับตัวตามความต้องการของลูกค้า

ทำให้ปัจจุบันมีองค์กรจำนวนมากที่ต้องการจะสร้าง Innovation ในองค์กร แต่การสร้าง Innovation ในองค์กรก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะ

  1. องค์กรขนาดใหญ่มักจะเสียเปรียบในเรื่องความเร็ว เช่น การตัดสินใจ การเริ่มลงมือทำ จะมีขั้นตอนมากกว่า Startup ขนาดเล็กๆ ที่สามารถลงมือทำได้ทันที
  2. องค์กรขนาดใหญ่ โดยทั่วไปแล้วไม่ได้ถูกออกแบบให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ภายนอกได้อย่างรวดเร็ว แต่จะเป็นเหมือนกับเครื่องจักรขนาดใหญ่ ที่สามารถทำงานตามที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้นำองค์กรบรรลุผลตามเป้าที่ตั้งไว้มากกว่า

การสร้าง Innovation จำเป็นมากที่จะต้องสร้างให้เร็ว ทีมจะต้องยืดหยุ่น มีนิสัยที่ชอบลองผิดลองถูก และต้องมีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เกิดสิ่งเหล่านี ซึ่งเป็นเรื่องค่อนข้างยากในองค์กร เพราะองค์กรถูกออกแบบมาให้เติบโตอย่างมั่นคง มีการ optimize process ต่างๆ เพื่อให้ประหยัดเงินและเวลา ได้ผลตอบแทนสูงสุด แต่การลองผิดลองถูกโดยทำโครงการที่สุดท้ายล้มเหลวอาจจะส่งผลถึงการประเมินความสามารถและส่งผลระยะยาวต่อการเติบโตในอาชีพการงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้คนในองค์กรไม่อยากที่จะเสี่ยง และสุดท้าย Innovation ก็จะไม่เกิด

แต่ถ้าเราลองมองดูที่ตัวคนข้างในองค์กร เราจะพบว่ามีคนเก่งๆ และมี potential ที่จะสร้าง Innovation ได้เยอะมากๆ เพียงแต่สภาพแวดล้อมไม่ได้เอื้ออำนวยให้พวกเขาเหล่านั้นสามารถทำได้

วิธีการแก้ปัญหา

วิธีการหนึ่งที่แก้ปัญหาได้ง่ายมากๆ คือการซื้อ Startup ข้างนอกเข้ามา โดยหวังว่าจะนำเอา Innovation ของ Startup มาปรับใช้กับองค์กร แต่ถ้าเราดูสถิติแล้ว มีโอกาสน้อยมาก ที่องค์กรกับ Startup ที่ถูกซื้อเข้ามาจะสามารถปรับตัวและทำงานต่อด้วยกันได้ในระยะยาว เนื่องจากความไม่เข้ากันของวัฒนธรรมและวิธีการคิด การทำงาน

อีกแนวคิดก็คือสิ่งที่เราพูดถึงมาแล้ว คือการสร้างบริษัทลูกตัวใหม่ (Studio) ที่ไม่ยึดติดกับวิธีการ กฏระเบียบ การบริหารงานของบริษัทแม่เลย แล้วให้พนักงานที่มี potential และความสามารถที่เหามะกับการสร้าง Startup ไปทำงานที่บริษัทใหม่นี้ เช่น คนที่ชอบลองผิดลองถูก คนที่มีความคิดสร้างสรรค์และอยากเป็นเจ้าของ และดึงเอา Entrepreneur จากข้างนอก เพื่อเอา Idea ใหม่ๆ เข้ามาในทีมด้วย การมีบริษัทใหม่ที่แยกขาดจากบริษัทแม่ จะทำให้สามาารถสร้างวัฒนธรรม วิธีการทำงานใหม่ๆ ที่เหมาะกับการเกิด Innovation ได้มากขึ้น ถ้า Studio สามารถสร้าง Startup ได้ 10 ตัว แม้ว่าจะล้มเหลวไปสัก 9 ตัว แต่ตัวที่เหลือทำกำไรได้มหาศาลก็ถือว่าคุ้มค่า ความรู้และประสบการณ์ของคนในองค์กรก็ไม่หายไปไหน และถูกนำไปใช้ต่อกับ Startup ตัวต่อๆ ไปที่จะถูกสร้าง ด้วยเหตุผลเหล่านี้ เราจึงเห็นองค์กรขนาดใหญ่หันมาสร้าง Venture Builder กันมาก ซึ่งก็มีหลายๆ ที่ ที่ประสบความสำเร็จดี บ้างที่ก็กำลังสร้างอยู่ บางที่ก็เริ่มศึกษาความเป็นไปได้

บริษัทที่ผมทำงานอยู่ก็เคยวางแผนว่าจะสร้าง Corporate Venture Builder ก็เลยเป็นสาเหตุที่ผมมาอ่านหนังสือเล่มนี้ แต่โครงการถูกล้มเลิกไปซะก่อน น่าเสียดายๆ แต่ก็ไม่มีถูกมีผิดครับ เป็นกลยุทธ์ในการบริหาร ซึ่งความเป็นจริงก็ไม่ได้มีแค่เส้นทางเดียวที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้

จบแล้วครับ เนื้อหาในหนังสือคร่าวๆ ก็มีประมาณนี้ แต่ถ้าได้อ่านหนังสือจริงๆ จะพบว่ามีรายละเอียดในแต่ละบท แต่ละหัวข้ออีกมากครับ แต่ผมยกเอาเฉพาะส่วนที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องหลักๆ มาเล่าให้ฟัง พบกันใหม่ในบทความต่อไป

Happy coding ครับ

--

--